You are here

 
History
Eco-Tourism
Geology
สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปากแม่น้ำเวฬุของอำเภอขลุง ซึ่งปกคลุมด้วยแนวผืนป่าชายเลนเนื้อที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ ที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งกลุ่มคนรักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน หรือพักผ่อนหย่อนใจกับกิจกรรมท่องเที่ยวดีๆ และน่าสนใจหลากหลายรูปแบบ ดังเช่นการเดินชมพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ซึ่งมีการสร้างเส้นทางเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไปในป่าชายเลน ตลอดสองข้างทางจะได้พบกับสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาชนิด
มาเที่ยวจังหวัดติดทะเลอย่างจันทบุรีทั้งที จะให้ไม่นึกถึงอาหารทะเลได้อย่างไร ว่าแล้วเจ้าหน้าที่ของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ก็แนะนำให้คนขับเรือพาเราไปเที่ยวชมฟาร์มหอยนางรมของลุงแมว ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือของสถานีฯ ราว 20 กิโลเมตร สำหรับนักชิมที่นิยมอาหารทะเล คงรู้ดีว่าหอยนางรมนอกจากรสเลิศ ยังเป็นอาหารบำรุงชั้นยอด ฟาร์มหอยของลุงแมวตั้งอยู่กลางผืนน้ำกว้างใหญ่เวิ้งว้าง เพราะเป็นบริเวณปากแม่น้ำเชื่อมต่อกับทะเล ในเขตพื้นที่บ้านท่ามะขาม ตำบลวันยาว ซึ่งเป็นบริเวณน้ำกร่อย ใครได้มาเห็นคงทึ่ง
ใครได้มาเยือนสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (บ้านท่าสอน จันทบุรี) นอกจากกิจกรรมการท่องเที่ยวประเภทเรียนรู้ระบบนิเวศน์และธรรมชาติ เช่น ล่องเรือชมเหยี่ยวแดง เดินชมป่าชายเลนหรือหิ่งห้อยแล้ว ที่นี่ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทชุมชม ได้แก่หมู่บ้านโรงไม้ ซึ่งเป็นแหล่งขายของที่ระลึก เช่น กะปิหรือกุ้งแห้งที่ขึ้นชื่ออีกด้วย ชุมชนโรงไม้ตั้งอยู่ที่ริมคลองบางชัน ซึ่งเชื่อมกับปากน้ำเวฬุ พวกเรานั่งเรือจากท่าของสถานีฯ เพลิดเพลินกับแนวป่าชายเลนริมฝั่งน้ำ และเหยี่ยวแดงที่ร่อนวนบนฟ้าเปิดโปร่ง ใช้เวลาไม่เกิน 20 น
พื้นที่ปากน้ำเวฬุซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ปกคลุมด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่อีกแห่งของประเทศไทย ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไม่ควรพลาดการเดินชมป่าชายเลน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเด่นของที่นี่ เส้นทางเดินชมป่าชายเลนมีระยะทางประมาณ 1,200 เมตร สร้างเป็นทางเดินสะพานไม้ทอดผ่านพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาชนิด ตลอดเส้นทางยังมีจุดแวะพักเป็นศาลา 6 แห่ง ศาลาแต่ละหลังจัดทำบอร์ดแสดงภาพถ่ายและข้อมูลความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนในแง่มุมต่างๆ สิ่งที่ทำให้ป่าชายเลนมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากป่าประเภทอื่น
ใกล้ค่ำแล้ว ท้องฟ้าสลัวลงทุกที ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นพอมืดแล้วคงต้องโบกมืออำลา ไม่มีอะไรให้ไปเที่ยวไปดูกันอีก แต่สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (บ้านท่าสอน) แห่งนี้ ฟ้ามืดลงเมื่อไหร่ยังมีกิจกรรมดีๆ รอให้ได้ประทับใจกันอีก เรากำลังจะชวนกันไปชมหิ่งห้อยกะพริบแสงวิบวับตามสุมทุมพุ่มไม้นั่นเอง หนึ่งทุ่มตรง เรามีนัดกับคุณประสิทธิ์ หาญเทศ และคุณน้ำฝน เพชรคำ เจ้าหน้าที่ของสถานีฯ ที่รับอาสาขับรถไฟฟ้าพาเราไปชมหิ่งห้อย รถไฟฟ้าเปิดโล่ง วิ่งด้วยความเงียบไปตามเส้
“เหยี่ยวแดงคอขาว” ตามที่ชาวบ้านแถบปากน้ำเวฬุเรียกนั้น แท้จริงแล้วมีชื่อที่เป็นสากล คือ เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite) นั่นเอง เหยี่ยวแดงเป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 51 ซ.ม. ตัวผู้มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 48 ซ.ม. รูปร่างล่ำสัน คอค่อนข้างสั้น ดวงตากลมโต จงอยปากสีเทา ปากบนเป็นของุ้มแหลมคมสำหรับฉีกเหยื่อ ปลายหางค่อนข้างมน ขาสีเหลือง กรงเล็บเท้าแหลมคม แข็งแรง สำหรับการจับเหยื่อ ลักษณะเด่นของเหยี่ยวแดงคือลำตัวมีขนสีน้ำตาลแดง ตัดกับสีขนบร