You are here

 
History
Eco-Tourism
Geology
ภูเวียงเป็นเทือกเขาที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีรูปร่างคล้ายกระเพาะอาหาร โดยพื้นที่ตรงกลางค่อนมาทางตะวันออกเป็นแอ่งที่ราบ มีเนินเขาล้อมรอบคล้ายวงแหวนและบริเวณที่สูงลักษณะภูเขายอดตัด ส่วนลักษณะทางธรณีวิทยาของเทือกเขาภูเวียง เป็นหินตะกอนในกลุ่มหินโคราช ซึ่งเป็นชั้นหินที่ถือกำเนิดหรือสะสมตัวบนแผ่นดินในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ครองโลก ประกอบด้วยชั้นของหมวดหินที่มีอายุในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ได้แก่ หมวดหินน้ำพอง หมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด และมีชั้นตะกอนของยุคปัจ
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว แต่ทุกวันนี้เรายังสามารถเรียนรู้เรื่องราวของไดโนเสาร์นานาชนิดได้จากซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของพวกมันที่ถูกขุดพบตามแหล่งต่างๆ เมื่อไดโนเสาร์ตายลง ส่วนใหญ่พวกมันจะสูญสลายไม่เหลือซาก มีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่เสียชีวิตอย่างถูกที่ถูกเวลา ซากของมันจึงจะกลายเป็นฟอสซิล ดังเช่นไดโนเสาร์ที่ตายบริเวณผืนทรายริมน้ำ แล้วถูกกลบฝังอย่างรวดเร็วด้วยทรายหรือโคลน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ซากของมันย่อยสลายไปจนหมด แม้เนื้อหนังจะค่อยๆ หลุดร่อนไปจนเหลือแต่โครงกระดูก เวลาผ่านไปซากกระดูกจ
เมื่อปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ส่งคณะไปสำรวจแร่ยูเรเนียมในพื้นที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น ผลปรากฏว่า นักธรนีวิทยาในทีมสำรวจได้พบฟอสซิลกระดูกท่อนใหญ่บริเวณประตูตีหมา ทางทิศตะวันตกของภูเวียง เมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสตรวจสอบ พบว่าเป็นฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ นับเป็นการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดโครงการความร่วมมือด้านโบราณชีววิทยาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน หลังการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ครั้งแรก มีการสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงตามมาอ
ในอดีตนับร้อยล้านปีมาแล้วเคยมีไดโนเสาร์หลายชนิดอยู่อาศัยและหากินบนผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทย เมื่อพวกมันล้มตายลงร่างจึงถูกกลบฝังและค่อยๆ กลายสภาพเป็นฟอสซิลอยู่ใต้ชั้นดิน ปัจจุบันนักบรรพชีวินวิทยาขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในเมืองไทยกว่า 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก 9 ชนิด ได้แก่ อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ คอยาว หางยาว ที่เรียกว่า ซอโรพอด มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ 210 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของมันถูกขุดพบที่ จ.ชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่าเป็นไดโ
ใครที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง คงได้รับความตื่นตาตื่นใจและความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์อย่างจุใจ แต่หากจะให้ดีกว่านั้นลองขับรถต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียง เพราะที่นี่มีหลุมขุดค้นฟอสซิลไดโนเสาร์ถึง 9 หลุม และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม 4 หลุม เรียกว่าเป็นการมาดูสถานที่จริง ทั้งยังได้ออกกำลังกายด้วยการเดินตามเส้นทางชมหลุมขุดค้นอีกด้วย หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา ถือว่าเป็นหลุมขุดที่มีความสำคัญมาก โดยพบตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา คณะสำรวจได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ
นับจากไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นในยุคไทรแอสสิก พวกมันครองโลกต่อมาเป็นเวลาถึง 160 ล้านปี จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ไดโนเสาร์ทั่วโลกสูญพันธุ์ไปหมดสิ้นเมื่อ 65 ล้านปีก่อน สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ยังเป็นปริศนาลึกลับ กลายเป็นหัวข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางในแวดวงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีผู้เสนอทฤษฎีต่างๆ จำนวนมากเพื่ออธิบายเรื่องนี้ ดังเช่น ดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกมาสู่โลก ทำให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมากกระจายขึ้นสู่อากาศบดบังแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืดจนสิ่งมีชีวิตทั้