เจดีย์ศรีสุริโยทัยตั้งอยู่ในย่านหัวแหลม หรือท่าวาสุกรี ริมแม่น้ำเจ้าพระยา องค์เจดีย์สีทองโดดเด่นตั้งอยู่บนฐานสูงสามารถแลเห็นได้แต่ไกล ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บนยอดซุ้มมณฑปทั้งสี่ทิศมีเจดีย์องค์เล็กตั้งอยู่ แต่ไม่มีพระพุทธรูปประดิษฐาน บริเวณนี้แต่เดิมคือสวนหลวงของพระราชวังติดกับวัดสบสวรรค์ ในเวลาต่อมาได้รวมกันเป็นวัดสวนหลวงสบสวรรค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้อาจบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย ที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสร้างขึ้นเพื่อ
|
ด้วยความสูงถึง 90 เมตร ทำให้เจดีย์ภูเขาทององค์นี้โดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกลอยู่กลางทุ่งภูเขาทอง ซึ่งเป็นทุ่งกว้างใหญ่นอกเกาะเมืองอยุธยา ในอดีตยามเหตุการณ์ปกติ นอกจากเป็นแหล่งปลูกข้าวแล้ว ในช่วงฤดูน้ำหลากชาวบ้านยังใช้บริเวณนี้เป็นที่แข่งเรือและเล่นสักวากัน แต่เมื่อเกิดศึกสงครามหลายครั้ง ท้องทุ่งแห่งนี้ก็กลายเป็นทั้งที่มั่นตั้งรับข้าศึก หรือมิฉะนั้นก็เป็นสถานที่ตั้งค่ายสำหรับข้าศึกยามยกทัพมาประชิดกรุงศรีอยุธยา
หลังสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 วัดภูเขาทองก็กลายเป็นวัดร้าง แ
|
ตั้งอยู่ปากทางเข้าวัดภูเขาทอง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าทรงม้าศึก โดยเลือกจากเหตุการณ์ตอนออกมาสังหารทหารเอกของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงที่มีชื่อว่า ลักไวทำมู
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2538-2542 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีพื้นที่ทั้งหมดถึง 1,075 ไร่ ประกอบด้วย สระน้ำ พื้นที่จัดกิจกรรม สวนสาธารณะ ทั้งยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อ
|
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างด้วยเงินจากประชาชนที่ได้เช่าพระพิมพ์ซึ่งกรมศิลปากรขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะเมื่อปีพ.ศ. 2502 ประกอบกับวัตถุโบราณวัตถุสำคัญล้ำค่าจำนวนมากที่พบตามโบราณสถานต่างๆ ทั่วพระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องมีที่เก็บรักษาและจัดแสดง จึงทำให้พิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าแห่งนี้เกิดขึ้นและเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504 โดยตั้งชื่อตามพระนามของผู้สถาปนาวัดราชบูรณะคือ สมเด็จเจ้าสามพระยา
ส่วนจัดแสดงมี 3 อาคาร คือ หมู่อาคารเรือนไทย เป็นรูปแบบเรือนไทยภาคกลาง จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่า
|
ในอดีตเป็นเพียงวัดร้าง ตั้งอยู่ริมถนนโดยไร้คนสนใจ นอกจากรู้เพียงว่าเป็นวัดร้างแห่งหนึ่งในจำนวนหลายแห่งรอบเกาะเมืองอยุธยาเท่านั้น ทว่าวัดขุนเมืองใจก็เป็นวัดสำคัญอีกแห่งที่น่าไปชม เพราะหลักฐานจากซากโบราณสถานที่เหลืออยู่สามารถบอกเรื่องราวได้ว่า วัดนี้มีมาแต่ยุคเมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และคงได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา วัดขุนเมืองใจ จึงเป็นวัดที่มีการสร้างซ้อนทับกันหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคต้นอยุธยาจนถึงยุคปลายอยุธยา จนกระทั่งถูกทิ้งร้างไปหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 231
|
เดิมชื่อ วัดมุขราช สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาโดยพระยาธรรมิกราช โอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง โดยสร้างขึ้นในยุคเดียวกับวัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จมาฟังธรรมเป็นประจำในวันพระ และเป็นสถานที่สอบเปรียญธรรมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ
วัดธรรมิกราชมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับกษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ เช่น ในสมัยปลายอยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงผนวชที่วัดนี้พร้อมด้วยมหาดเล็กชื่อ หง ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมกับพระยาตากจนได้รับพระราชทานเป็นพระยาเพชรพิชัย
เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดแล
|