ตรงจุดที่ถนนศรีสรรเพชญ์ตัดกับถนนป่าโทนในเกาะเมืองอยุธยา เป็นสี่แยกที่เรียกว่า “ตะแลงแกง” อันเป็นย่านสำคัญถือกันว่าเป็นใจกลางพระนคร และเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง ดังมีหลักฐานของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยนั้นบันทึกไว้ว่า ตั้งแต่ประตูชัยขึ้นมา จนถึงย่านตะแลงแกง เป็นจุดที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีตลาดขายของชำและของสดทั้งเช้า-เย็น ได้แก่ ตลาดหน้าคุก ตลาดหน้าศาลพระกาฬ ด้วยเหตุนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมักใช้บริเวณนี้เป็นที่ประหารชีวิตและเสียบหัวนักโทษประจาน ในคดีล้มล้างราชบัลลังก์ เพื่อม
|
จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529โดยได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาเป็นทั้งสถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์ข้อมูล และห้องสมุดประวัติศาสตร์ มีอาคารจัดแสดง 2 แห่งคือ ที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ และส่วนผนวกตั้งขึ้นใหม่อยู่บริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเช
|
เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เดิมชื่อวัดยานุเสน ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะเมืองใกล้กับช่องมหาเถรไม้แช บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของชนชาวมอญมาก่อน วัดญาณเสนไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ในตำนานกล่าวเพียงว่า ในสมัยอยุธยามีตึกพระคลังสำหรับใส่เชือกและบาศคล้องช้างอยู่ริมวัดแห่งนี้ และมีรางน้ำอยู่ถัดหน้าวัดญาณเสน ทะลุเข้าไปจากรากกำแพงด้านเหนือ ชาวบ้านเรียกว่าคลองน้ำเชี่ยว เป็นทางสำหรับชักน้ำจากแม่น้ำลพบุรีเข้าไปยังบึงพระราม เป็นวิธีถ่ายเทน้ำไปในบึงพระรามให้สะอาด ซึ่งมีมาแต่ครั้งโบราณ
โ
|
เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นเช่นกัน ตั้งอยู่ริมปากคลองประตูข้าวเปลือกฝั่งตะวันตก ภายในกำแพงพระนคร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในรัชสมัยใด แม้ว่าในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจะกล่าวถึงวัดนี้หลายครั้งก็ตาม แต่หากดูความหมายจากชื่อวัดซึ่งหมายถึงวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า ผู้สร้างวัดนี้คงเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง และคงมีความสำคัญอยู่มาก
สิ่งก่อสร้างเก่าแก่สมัยอยุธยา ที่ยังเหลือให้ชมคือ ใบเสมาที่ปักรอบทั้งแปดทิศแสดงเขตพระอุโบสถ เป็นใบเสมาสมัยอโ
|
บรรดาซากอาคารโบราณสถานของวัดวาอารามต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นของนครประวัติศาสตร์ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ครอบคลุมทั้งเกาะเมืองอยุธยา และบริเวณนอกเกาะเมืองโดยรอบ ซึ่งมีโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง ความยิ่งใหญ่ของเมืองประวัติศาสตร์แห่งนี้ เกิดจากการสั่งสมความรู้ ภูมิปัญญา สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งต่อความรุ่งเรืองจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมซึ่งยังมีผู้คนอาศัยสืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน
กรุงศรีอยุธยาได้ก้าวสู่ยุคแห่งความรุ่งเรือง มี
|
ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรม และประติมากรรมของอยุธยา ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระศาสนา เป็นพุทธบูชา ความงดงามที่ปรากฏให้เห็นล้วนแสดงถึงฝีมือ ศรัทธา คติความเชื่อ เทคโนโลยีและวิทยาการ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วอายุคนหรือเพียงแค่รุ่นสองรุ่น หากแต่เกิดจากการสั่งสม ผสมผสาน และการปรับใช้จากศิลปะอื่นๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา
หากจะชื่นชมความงามของงานสถาปัตยกรรม และประติมากรรมของสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นไป มีลักษณะเด่นให้สังเกตได้ไม่ยาก ในงานสถาปัตยกรรมยุคนี้ มักปรากฏการสร้างเจดีย์
|