ช่วงต้นของเส้นทางเดินชมนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์สิรินธร เราจะเห็นลายเส้นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ฝังอยู่บนพื้น มันคือมาตราธรณีกาล (Geological Time Scale) ที่ใช้ลำดับอายุทางธรณีวิทยา นับแต่โลกกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุค และสมัย ตามลำดับ
ดังนั้นในตารางสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ จึงมีลายเส้นตัดกันเป็นช่องย่อยๆ แบ่งตามช่วงเวลาดังกล่าว ในแต่ละช่องยังมีสัญลักษณ์รูปพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งกำเนิดขึ้นในเวลานั้นอีกด้วย
เมื่อเราก้าวย่างผ่านมาตราธรณีก
|
ในอดีตนับร้อยล้านปีมาแล้วเคยมีไดโนเสาร์หลายชนิดอยู่อาศัยและหากินบนผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทย เมื่อพวกมันล้มตายลงร่างจึงถูกกลบฝังและค่อยๆ กลายสภาพเป็นฟอสซิลอยู่ใต้ชั้นดิน
ปัจจุบันนักบรรพชีวินวิทยาขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในเมืองไทยกว่า 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก 9 ชนิด ได้แก่
อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ คอยาว หางยาว ที่เรียกว่า ซอโรพอด มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ 210 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของมันถูกขุดพบที่ จ.ชัยภูมิ ผลการศึกษาพบว่าเป็นไดโ
|
ใครที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง คงได้รับความตื่นตาตื่นใจและความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์อย่างจุใจ แต่หากจะให้ดีกว่านั้นลองขับรถต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียง เพราะที่นี่มีหลุมขุดค้นฟอสซิลไดโนเสาร์ถึง 9 หลุม และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม 4 หลุม เรียกว่าเป็นการมาดูสถานที่จริง ทั้งยังได้ออกกำลังกายด้วยการเดินตามเส้นทางชมหลุมขุดค้นอีกด้วย
หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา
ถือว่าเป็นหลุมขุดที่มีความสำคัญมาก โดยพบตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา คณะสำรวจได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ
|
นับจากไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นในยุคไทรแอสสิก พวกมันครองโลกต่อมาเป็นเวลาถึง 160 ล้านปี จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ไดโนเสาร์ทั่วโลกสูญพันธุ์ไปหมดสิ้นเมื่อ 65 ล้านปีก่อน
สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ยังเป็นปริศนาลึกลับ กลายเป็นหัวข้อถกเถียงอย่างกว้างขวางในแวดวงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีผู้เสนอทฤษฎีต่างๆ จำนวนมากเพื่ออธิบายเรื่องนี้ ดังเช่น ดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกมาสู่โลก ทำให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมากกระจายขึ้นสู่อากาศบดบังแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืดจนสิ่งมีชีวิตทั้
|
สำหรับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แล้ว สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดน่าจะได้แก่โครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดมหึมาที่ยืนตระหง่านอยู่ต่อหน้าเขานั่นเอง
พิพิธภัณฑ์สิรินธรจัดแสดงโครงกระดูกไดโนเสาร์ประมาณ 20 ชนิด ส่วนใหญ่สั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ที่โดดเด่นกว่าเพื่อนเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และยังเป็นฟอสซิลที่ขุดพบในเมืองไทย ก็คือโครงกระดูกของภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ตามปรกติโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ล้วนเป็นแบบจำลอง โดยเก็บฟอสซิลของจริงไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัย และใช้สำหรับงานวิจัย
การทำ
|
ต่อไปนี้คือรายชื่อและลักษณะของพันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ที่สำรวจพบในป่าชายเลนบริเวณสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 บ้านท่าสอน จังหวัดจันทบุรี เพื่อให้เป็นคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจที่เข้าไปเดินตามเส้นทางชมป่าชายเลนของสถานีฯ จะได้รู้จักและจำแนกพันธุ์ไม้แต่ละชนิดได้ดียิ่งขึ้น
โกงกางใบเล็ก
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-30 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำหรือเทาอมชมพู รากค้ำยันสูง 3-8 เมตร แตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ
ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้ามกัน ใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป
|