You are here

ไดโนเสาร์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่จู่ๆ ก็กำเนิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน แต่พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของสายการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลกที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เราสามารถเรียนรู้ลำดับขั้นวิวัฒนาการของสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้อย่างดีจากเรื่องราวของมหายุคพาลีโอโซอิก ซึ่งอยู่ในพื้นที่จัดแสดงโซน 3 มหายุคพาลีโอโซอิกเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าไดโนเสาร์จะเกิดขึ้นในโลก มีระยะเวลา 291 ล้านปี และแบ่งเป็น 6 ยุคย่อย ได้แก่ ยุคแคมเบรียน (542-488 ล้านปีก่อน) ช่วงแรกยังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนบก เพราะอากาศร้อนและแห้งแล้งเกินไป
พื้นที่จัดแสดงโซน 1 ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร หัวข้อ จักรวาลและโลก นอกจากนำเสนอเรื่องการกำเนิดของจักรวาลแล้ว อีกมุมหนึ่งยังมีหัวข้อเกี่ยวกับโลกให้เราได้เรียนรู้ ลูกโลกจำลองขนาดใหญ่ติดตั้งที่ผนัง มีโครงสร้างเป็นแผ่นเปลือกโค้งซ้อนกันอยู่หลายชั้น โดยผู้ชมสามารถเลื่อนแต่ละชั้นให้เคลื่อนแยกจากกันได้ ลักษณะเดียวกับโลกของเราซึ่งมีโครงสร้างเป็นชั้นซ้อนกันอยู่เช่นกัน ผิวโลกชั้นบนสุดหรือเปลือกโลกเป็นชั้นหินแข็ง ส่วนที่เป็นทวีปมีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ขณะเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมีความหนาเฉลี่ย 6 กิโลเมตร ใ
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่น่าพิศวง ด้วยขนาดใหญ่มหึมาและรูปร่างราวสัตว์ประหลาดจากภาพยนตร์แฟนตาซี พวกมันครองโลกยาวนานถึง 160 ล้านปี วิวัฒนาการจนมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด แพร่กระจายไปทั่วพื้นพิภพ ก่อนที่จะสูญพันธุ์อย่างเป็นปริศนาเมื่อราว 65 ล้านปีก่อน ถึงอย่างนั้นพวกมันยังคงดึงดูดความสนใจจากคนในปัจจุบัน อย่างที่ไม่มีสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดใดเทียบได้ อย่าแปลกใจถ้าเราจะชักชวนให้ไปท่องแดนไดโนเสาร์ด้วยกัน ระหว่างเดินทางขอให้ลองหลับตาแล้วใช้จินตนาการพาเราย้อนเวลาสู่อดีต ราวร้อยกว่าล้านปีที่แล้วดินแดนอีสานของไท
ช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์วิวัฒนาการขึ้นจากสัตว์เลื้อยคลาน แล้วทวีจำนวนและชนิดกระทั่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วโลก เกิดขึ้นในช่วงมหายุคมีโซโซอิก เมื่อ 251-65 ล้านปีก่อน โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ไทรแอสซิก จูแรสซิก และครีเทเชียส ยุคไทรแอสซิก (251-200 ล้านปีก่อน) ทวีปทั้งหมดยังรวมกันเป็นแผ่นดินใหญ่ผืนเดียว เรียกว่า มหาทวีปพันเจีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรกว้างใหญ่ ใจกลางทวีปจึงเป็นทะเลทรายกว้างใหญ่ที่อากาศร้อนระอุ ในบริเวณที่ชุ่มชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำมีพืชพันธุ์ขึ้น เช่น ปรง เฟิร์น แปะก๊วย พืชคล้ายปาล์ม สัตว์ที่มี
เมื่อปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ส่งคณะไปสำรวจแร่ยูเรเนียมในพื้นที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น ผลปรากฏว่า นักธรนีวิทยาในทีมสำรวจได้พบฟอสซิลกระดูกท่อนใหญ่บริเวณประตูตีหมา ทางทิศตะวันตกของภูเวียง เมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสตรวจสอบ พบว่าเป็นฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ นับเป็นการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดโครงการความร่วมมือด้านโบราณชีววิทยาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน หลังการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ครั้งแรก มีการสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงตามมาอ
ห้องปฏิบัติการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัยไดโนเสาร์ สำหรับพิพิธภัณฑ์สิรินธร ห้องปฏิบัติการกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางที่ผู้เข้าชมเดินผ่าน และผนังทั้งบานเป็นกระจกใส จึงสามารถมองเห็นการทำงานของบรรดานักวิทยาศาสตร์ได้อย่างชัดเจน เราจะได้เห็นฟอสซิลกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์นานาชนิดที่ขุดพบในประเทศไทย วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะแต่ละตัวจนดูละลานตา เช่น กระดูกสะโพกและกระดูกต้นขาชิ้นมหึมาของ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หรือกระดูกโคนหางของ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส เมื่อฟ