You are here

ใกล้ค่ำแล้ว ท้องฟ้าสลัวลงทุกที ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นพอมืดแล้วคงต้องโบกมืออำลา ไม่มีอะไรให้ไปเที่ยวไปดูกันอีก แต่สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (บ้านท่าสอน) แห่งนี้ ฟ้ามืดลงเมื่อไหร่ยังมีกิจกรรมดีๆ รอให้ได้ประทับใจกันอีก เรากำลังจะชวนกันไปชมหิ่งห้อยกะพริบแสงวิบวับตามสุมทุมพุ่มไม้นั่นเอง หนึ่งทุ่มตรง เรามีนัดกับคุณประสิทธิ์ หาญเทศ และคุณน้ำฝน เพชรคำ เจ้าหน้าที่ของสถานีฯ ที่รับอาสาขับรถไฟฟ้าพาเราไปชมหิ่งห้อย รถไฟฟ้าเปิดโล่ง วิ่งด้วยความเงียบไปตามเส้
“เหยี่ยวแดงคอขาว” ตามที่ชาวบ้านแถบปากน้ำเวฬุเรียกนั้น แท้จริงแล้วมีชื่อที่เป็นสากล คือ เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite) นั่นเอง เหยี่ยวแดงเป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 51 ซ.ม. ตัวผู้มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 48 ซ.ม. รูปร่างล่ำสัน คอค่อนข้างสั้น ดวงตากลมโต จงอยปากสีเทา ปากบนเป็นของุ้มแหลมคมสำหรับฉีกเหยื่อ ปลายหางค่อนข้างมน ขาสีเหลือง กรงเล็บเท้าแหลมคม แข็งแรง สำหรับการจับเหยื่อ ลักษณะเด่นของเหยี่ยวแดงคือลำตัวมีขนสีน้ำตาลแดง ตัดกับสีขนบร
ภูกุ้มข้าวเป็นภูเขาขนาดย่อมตั้งอยู่กลางทุ่งนาในเขต อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ในบริเวณนี้เป็นแหล่งที่มีการขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ประวัติของแหล่งไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เริ่มจากปี พ.ศ. 2513 พระครูวิจิตรหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ซึ่งตั้งอยู่เชิงภูกุ้มข้าว ได้พบฟอสซิลโครงกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่และเก็บรักษาไว้ กระทั่งปี 2523 ดร.วราวุธ สุธีธร และคณะนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีได้มาสำรวจพื้นที่แถบภูกุ้มข้าว แล้วพบว่าฟอสซิลเหล่านั้นเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอด ต่อมาในปี 2537
ภูเวียงเป็นเทือกเขาที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีรูปร่างคล้ายกระเพาะอาหาร โดยพื้นที่ตรงกลางค่อนมาทางตะวันออกเป็นแอ่งที่ราบ มีเนินเขาล้อมรอบคล้ายวงแหวนและบริเวณที่สูงลักษณะภูเขายอดตัด ส่วนลักษณะทางธรณีวิทยาของเทือกเขาภูเวียง เป็นหินตะกอนในกลุ่มหินโคราช ซึ่งเป็นชั้นหินที่ถือกำเนิดหรือสะสมตัวบนแผ่นดินในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ครองโลก ประกอบด้วยชั้นของหมวดหินที่มีอายุในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ได้แก่ หมวดหินน้ำพอง หมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด และมีชั้นตะกอนของยุคปัจ
น้องโย่ง น้องแข่ น้องเปรียวและน้องดุ 4 ตัวการ์ตูนมาสคอตประชาสัมพันธ์โครงการ “ไดโนเสาร์สะออน” เส้นทาง 260 กิโลเมตร จากภูเวียง จ.ขอนแก่น ไปจรดภูกุ้มข้าวและภูแฝก จ.กาฬสินธุ์ ที่มีเรื่องราวของไดโนเสาร์หลากหลายแง่มุมที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย นายนพรัตน์ กอกหวาน ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานขอนแก่น ได้เปิดเผยให้เราฟังถึงที่มาของชื่อเจ้าไดโนเสาร์ทั้ง 4 ว่า พวกมันคือไดโนเสาร์สกุลใหม่ของโลก ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย อันได้แก่ 1. เจ้ายักษ์คอยาวกินพืช : ภูเวียงโกซอรัส ส
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว แต่ทุกวันนี้เรายังสามารถเรียนรู้เรื่องราวของไดโนเสาร์นานาชนิดได้จากซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของพวกมันที่ถูกขุดพบตามแหล่งต่างๆ เมื่อไดโนเสาร์ตายลง ส่วนใหญ่พวกมันจะสูญสลายไม่เหลือซาก มีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่เสียชีวิตอย่างถูกที่ถูกเวลา ซากของมันจึงจะกลายเป็นฟอสซิล ดังเช่นไดโนเสาร์ที่ตายบริเวณผืนทรายริมน้ำ แล้วถูกกลบฝังอย่างรวดเร็วด้วยทรายหรือโคลน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ซากของมันย่อยสลายไปจนหมด แม้เนื้อหนังจะค่อยๆ หลุดร่อนไปจนเหลือแต่โครงกระดูก เวลาผ่านไปซากกระดูกจ