ตรงจุดที่ถนนศรีสรรเพชญ์ตัดกับถนนป่าโทนในเกาะเมืองอยุธยา เป็นสี่แยกที่เรียกว่า “ตะแลงแกง” อันเป็นย่านสำคัญถือกันว่าเป็นใจกลางพระนคร และเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง ดังมีหลักฐานของชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยนั้นบันทึกไว้ว่า ตั้งแต่ประตูชัยขึ้นมา จนถึงย่านตะแลงแกง เป็นจุดที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น มีตลาดขายของชำและของสดทั้งเช้า-เย็น ได้แก่ ตลาดหน้าคุก ตลาดหน้าศาลพระกาฬ ด้วยเหตุนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงมักใช้บริเวณนี้เป็นที่ประหารชีวิตและเสียบหัวนักโทษประจาน ในคดีล้มล้างราชบัลลังก์ เพื่อม
|
จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529โดยได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาเป็นทั้งสถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์ข้อมูล และห้องสมุดประวัติศาสตร์ มีอาคารจัดแสดง 2 แห่งคือ ที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ และส่วนผนวกตั้งขึ้นใหม่อยู่บริเวณหมู่บ้านญี่ปุ่น ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใต้วัดพนัญเช
|
สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปากแม่น้ำเวฬุของอำเภอขลุง ซึ่งปกคลุมด้วยแนวผืนป่าชายเลนเนื้อที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ ที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งกลุ่มคนรักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน หรือพักผ่อนหย่อนใจกับกิจกรรมท่องเที่ยวดีๆ และน่าสนใจหลากหลายรูปแบบ
ดังเช่นการเดินชมพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ซึ่งมีการสร้างเส้นทางเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไปในป่าชายเลน ตลอดสองข้างทางจะได้พบกับสัตว์น้ำและพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาชนิด
|
มาเที่ยวจังหวัดติดทะเลอย่างจันทบุรีทั้งที จะให้ไม่นึกถึงอาหารทะเลได้อย่างไร
ว่าแล้วเจ้าหน้าที่ของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ก็แนะนำให้คนขับเรือพาเราไปเที่ยวชมฟาร์มหอยนางรมของลุงแมว ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือของสถานีฯ ราว 20 กิโลเมตร
สำหรับนักชิมที่นิยมอาหารทะเล คงรู้ดีว่าหอยนางรมนอกจากรสเลิศ ยังเป็นอาหารบำรุงชั้นยอด
ฟาร์มหอยของลุงแมวตั้งอยู่กลางผืนน้ำกว้างใหญ่เวิ้งว้าง เพราะเป็นบริเวณปากแม่น้ำเชื่อมต่อกับทะเล ในเขตพื้นที่บ้านท่ามะขาม ตำบลวันยาว ซึ่งเป็นบริเวณน้ำกร่อย
ใครได้มาเห็นคงทึ่ง
|
ใครได้มาเยือนสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (บ้านท่าสอน จันทบุรี) นอกจากกิจกรรมการท่องเที่ยวประเภทเรียนรู้ระบบนิเวศน์และธรรมชาติ เช่น ล่องเรือชมเหยี่ยวแดง เดินชมป่าชายเลนหรือหิ่งห้อยแล้ว ที่นี่ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทชุมชม ได้แก่หมู่บ้านโรงไม้ ซึ่งเป็นแหล่งขายของที่ระลึก เช่น กะปิหรือกุ้งแห้งที่ขึ้นชื่ออีกด้วย
ชุมชนโรงไม้ตั้งอยู่ที่ริมคลองบางชัน ซึ่งเชื่อมกับปากน้ำเวฬุ พวกเรานั่งเรือจากท่าของสถานีฯ เพลิดเพลินกับแนวป่าชายเลนริมฝั่งน้ำ และเหยี่ยวแดงที่ร่อนวนบนฟ้าเปิดโปร่ง ใช้เวลาไม่เกิน 20 น
|
พื้นที่ปากน้ำเวฬุซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 ปกคลุมด้วยป่าชายเลนผืนใหญ่อีกแห่งของประเทศไทย ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไม่ควรพลาดการเดินชมป่าชายเลน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเด่นของที่นี่
เส้นทางเดินชมป่าชายเลนมีระยะทางประมาณ 1,200 เมตร สร้างเป็นทางเดินสะพานไม้ทอดผ่านพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนานาชนิด ตลอดเส้นทางยังมีจุดแวะพักเป็นศาลา 6 แห่ง ศาลาแต่ละหลังจัดทำบอร์ดแสดงภาพถ่ายและข้อมูลความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนในแง่มุมต่างๆ
สิ่งที่ทำให้ป่าชายเลนมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากป่าประเภทอื่น
|