หากชมพระราชวังโบราณและกราบนมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรแล้ว สถานที่อีกแห่งซึ่งไม่ควรพลาดคือ คุ้มขุนแผน ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกันนัก ที่นี่เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลางแบบเรือนคหบดีสมัยโบราณ ที่นับวันจะหาดูได้ยากในปัจจุบัน ทั้งยังแสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทยครั้งอดีต ในการสร้างเรือนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ รวมถึงเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยอย่างคุ้มค่า
คุ้มขุนแผนเป็นเรือนหมู่ประกอบด้วยเรือนไทยมีทั้งหมด 5 หลัง เรือนใหญ่ทางด้านตะวันตกเรียกว่า "หอใหญ่" เรือนหลังใต้เรียกว่า "หอขวา
|
ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว เป็นอีกแห่งที่จัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งให้ภาพรวมของกรุงศรีอยุธยา เหมาะสำหรับการทำความเข้าใจอดีตราชธานีนี้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ปรับปรุงศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดนครศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 สมัยหลวงบริหารชนบท(ส่าน) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด โดยการสนับสนุนจาก นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นสถาปัตยกรรมแบบ “โมเดิ
|
พระราชวังจันทรเกษม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.2120 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เพื่อใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยามเสด็จจากเมืองพิษณุโลก เพื่อมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อตำแหน่งวังหน้าถูกสถาปนาขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นที่ประทับของวังหน้าเรื่อยมา นับตั้งแต่ สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทัก
|
เป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1967 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมเชษฐาทั้งสองพระองค์ คือ เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ซึ่งได้ทำการสู้รบกัน ภายหลังพระราชบิดาคือสมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จสวรรคต ในครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ต่างยกพลเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อหมายในราชสมบัติ จึงเกิดการชนช้างกันขึ้น ณ สะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์
เจ้าสามพระยาซึ่งเสด็จลงมาจากเมืองชัยนาทในภายหลัง จึงได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด
|
ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า ในปี พ.ศ. 2232 สมเด็จพระเพทราชาโปรดฯ ให้สร้างวัดบรมพุทธารามขึ้นในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสสถานเดิมหรือบ้านเดิมของพระองค์ ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ โดยโปรดฯ ให้สถาปนากำแพงแก้ว พระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะ กุฎี แล้วให้หมื่นจันทราช ช่างเคลือบ ให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร การเปรียญ สร้างอยู่ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ทรงถวายนามพระอารามว่า “วัดบรมพุทธาราม” แล้วสมโภชฉลอง 3 วัน 3 คืน มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา
วัดนี้ยังมี
|
วัดพุทไธศวรรย์ตั้งอยู่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับปากคลองท่อหรือคลองฉะไกรใหญ่ ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่ได้หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ในอดีตบริเวณรอบวัดเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวต่างชาติ ทั้งชาวจีน มุสลิม โปรตุเกส ญวน และฝรั่งเศส ดังปรากฏร่องรอยมาจนปัจจุบัน
วัดพุทไธศวรรย์เป็นวัดเก่าแก่ของกรุงศรีอยุธยา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุง ดังหลักฐานเอกสารในพระราชพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระเจ้าอู่ทองโปรดให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ในบริเวณที่เรียกว่า “เวียงเหล็ก” ซึ
|