You are here

 
History
Eco-Tourism
Geology
วัดพระรามเป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีพระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ด้านหน้าวัดเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า บึงพระราม เดิมชื่อ บึงชีขันหรือหนองโสน เป็นหนองน้ำที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในตำนานกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพผู้คนหนีภัยโรคระบาดมาอยู่ที่ริมบึงแห่งนี้ วัดพระรามสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ในบริเวณที่เคยเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
วัดพระศรีสรรเพชญ์เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาพ.ศ. 1991 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังเดิมให้เป็นวัดส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญทางศาสนา และพระราชพิธีอื่นๆ ของรัฐ อาทิ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือเสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสต่างๆ เช่นเดียวกับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็
เป็นวัดที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เรียกว่าวัดหน้าพระธาตุ หรือวัดมหาธาตุ ตามธรรมเนียมโบราณถือว่าวัดมหาธาตุเป็นแกนหลักของเมือง ดังปรากฏมีวัดมหาธาตุสร้างขึ้นเป็นวัดประจำเมืองต่างๆหลายแห่ง พระปรางค์วัดมหาธาตุเป็นคติการสร้างปรางค์รุ่นแรกของอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นการเลียนแบบการสร้างปราสาทหินแบบเขมรโบราณ เราจึงสามารถพบศิลปะพระปรางค์มหาธาตุได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในช่วงตอนต้นกรุงศรีอยุธยา วัดมหาธาตุถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของเมือง เป็น 1 ใน
เป็นหนึ่งในวัดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชบูรณะขึ้นในปี พ.ศ. 1967 ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาของพระองค์ ที่สิ้นพระชนม์จากการรบเพื่อแย่งชิงราชสมบัติกัน เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดจะเห็นว่ามีแผนผังการก่อสร้างเป็นคติสมัยอยุธยาตอนต้นเหมือนที่วัดมหาธาตุ นั่นคือการวางตำแหน่งให้พระวิหารอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธาน โดยมีพระอุโบสถอยู่ด้านหลัง และทั้งหมดอยู่ในแนวระนาบเดี
เป็นวัดเก่าอีกวัดหนึ่งซึ่งสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่าเดิมชื่อ วัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท สร้างขึ้นในบริเวณที่ปลงศพเจ้าแก้วกับเจ้าไทย พระราชโอรสของพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งสิ้นพระชนม์ในคราวเกิดโรคระบาด วัดนี้มีความสำคัญเพราะเป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มีพระวันรัตน์เป็นหัวหน้าคณะ คู่กับพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งเป็นฝ่ายคามวาสี เมื่อเข้าสู่บริเวณวัด ก็จะพบพระเจดีย์ขนาดสูงใหญ่สะดุดตา พระเจดีย์องค์นี้ชื่อว่า “เจดีย์ชัยมงคล” เป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานบัลลัง
วิหารมงคลบพิตรตั้งอยู่ด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบนมัสการ พระมงคลบพิตร ในวิหารนี้กันอย่างเนืองแน่น เมื่อเข้าสู่ตัววิหาร สิ่งที่สะกดทุกสายตาให้ต้องเงยหน้าขึ้นมองก็คือพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สีทองงามจับตา พระพักตร์แลดูนิ่ง ส่งให้ผู้มาเยือนเกิดความสงบเย็นขึ้นในจิตใจ พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สูงถึง 12.45 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย องค์พระก่อด้วยอิฐถือปูน หุ้มภายนอกด้วยสำริด แล้วลงรักปิดทอง น่าเสียดายที่แม้ไม่ปรากฏป