วัดมหาธาตุ
เป็นวัดที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เรียกว่าวัดหน้าพระธาตุ หรือวัดมหาธาตุ ตามธรรมเนียมโบราณถือว่าวัดมหาธาตุเป็นแกนหลักของเมือง ดังปรากฏมีวัดมหาธาตุสร้างขึ้นเป็นวัดประจำเมืองต่างๆหลายแห่ง
พระปรางค์วัดมหาธาตุเป็นคติการสร้างปรางค์รุ่นแรกของอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นการเลียนแบบการสร้างปราสาทหินแบบเขมรโบราณ เราจึงสามารถพบศิลปะพระปรางค์มหาธาตุได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
ในช่วงตอนต้นกรุงศรีอยุธยา วัดมหาธาตุถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของเมือง เป็น 1 ใน 5 พระมหาธาตุ "หลักแห่งพระนคร" เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสี และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีของกษัตริย์และพิธีกรรมของราษฎร ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้น ทำให้ศูนย์กลางพระนครเปลี่ยนมาอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์แทน
หากลองสังเกตดูจะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างภายในวัดมหาธาตุมีอยู่มากมาย นั่นเป็นเพราะวัดนี้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมรวมทั้งการบูรณปฏิสังขรณ์หลายยุคหลายสมัย อันแสดงถึงความสำคัญของวัดได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายที่พระปรางค์องค์ใหญ่ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระราเมศวร เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงพระพุทธรูปและรูปเคารพที่นำมาจากที่อื่น ได้พังลงในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2447) จึงคงเหลือสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน
จากการขุดค้นองค์พระปรางค์พบว่า ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งบรรจุในผอบทำด้วยวัสดุต่างๆ กันซ้อนอยู่ถึงเจ็ดชั้น รวมถึงพบเครื่องประดับมีค่าอีกหลายอย่าง บรรดาของสำคัญที่พบนี้ไปชมกันได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
แม้ปรางค์ประธานจะไม่เหลือสิ่งใดให้ชมแล้ว แต่ที่ปรางค์รายทั้งสี่มุมก็ยังมีลวดลายอันเกิดจากฝีมือช่างอยุธยา ที่รับอิทธิพลมาจากเขมรโบราณ ให้ชมได้อยู่
แผนผังของวัดมหาธาตุ ที่วางตำแหน่งพระวิหารไว้ด้านหน้า แล้วจึงต่อด้วยปรางค์ประธาน โดยมีพระอุโบสถอยู่ด้านหลังสุด แสดงถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งให้ความสำคัญแก่พระวิหารมากกว่าอุโบสถ ทั้งยังสร้างให้มีขนาดใหญ่โตกว่า ดังเช่น พระวิหารที่นี่มีความยาวถึง 60 เมตร นับเป็นวิหารขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเขตเกาะเมืองอยุธยา อีกทั้งการวางแผนผังดังกล่าวได้ส่งอิทธิพลต่อมาถึงสมัยหลังด้วย
นอกจากนี้ยังไม่ควรพลาดชมบรรดาเจดีย์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปตามสมัย มีทั้งเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงระฆังล้านนา เจดีย์ทรงปรางค์ ส่วนใครที่เห็นภาพเศียรพระพุทธรูปที่มีรากไม้ปกคลุมตามโปสการ์ดแล้วอยากมาเห็นด้วยตา รีบมุ่งตรงไปยังวิหารเล็ก ไม่ไกลจากพระวิหารได้เลย
มกันได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
แม้ปรางค์ประธานจะไม่เหลือสิ่งใดให้ชมแล้ว แต่ที่ปรางค์รายทั้งสี่มุมก็ยังมีลวดลายอันเกิดจากฝีมือช่างอยุธยา ที่รับอิทธิพลการทำลวดลายตามแบบปราสาทขอมโบราณ ให้ชมได้อยู่
ภายในวัดมหาธาตุยังมีสิ่งสำคัญอีกคือ แผนผังการตั้งวัด ที่วางตำแหน่งของพระวิหารให้อยู่ด้านหน้า แล้วจึงต่อด้วยพระปรางค์ประธาน โดยมีพระอุโบสถอยู่ด้านหลังสุด รูปแบบเช่นนี้มักพบตามวัดในสมัยอยุธยาตอนต้นที่ให้ความสำคัญแก่พระวิหารมากกว่าอุโบสถ ทั้งยังสร้างให้มีขนาดใหญ่โตกว่า ดังเช่นพระวิหารที่นี่มีความยาวถึง 60 เมตร นับเป็นวิหารขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเขตเกาะเมืองอยุธยา น่ารู้ด้วยว่าการวางแผนผังดังกล่าวได้ส่งอิทธิพลต่อมาถึงสมัยหลังด้วย
นอกจากนี้ก็ไม่ควรพลาดชมบรรดาเจดีย์หลากหลายรูปแบบซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปตามสมัย มีทั้งเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงระฆังล้านนา เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงปราสาทยอด ส่วนใครที่เห็นภาพเศียรพระพุทธรูปที่มีรากไม้ปกคลุมตามโปสการ์ดแล้วอยากมาเห็นด้วยตา รีบมุ่งตรงไปยังวิหารเล็กๆ ไม่ไกลจากพระวิหารได้เลย
ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ไม่เสียค่าเข้าชม
วัดมหาธาตุ
 |
ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน หัวมุม ถ. นเรศวร ตัด ถ. ชีกุน
ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ไม่เสียค่าเข้าชม
|