You are here

หมู่บ้านญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้านใต้ของเกาะเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนชาวต่างชาติที่เดินทางมาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านฮอลันดา หมู่บ้านอังกฤษ โดยต่างได้รับพระราชทานที่ดินตั้งชุมชนบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และการค้าระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นเริ่มขยายมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยทั้งสองฝ่ายทรงส่งเครื่องบรรณาการไปถวายซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ในสมัยอยุธยาจึงมีชาวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาค้าขาย เป็นทหารอาส
ชาวโปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และยังเป็นผู้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมทั้งปืนไฟเข้ามาเผยแพร่ รวมทั้งสมัครเป็นทหารอาสาช่วยรบในกองทัพ ความดีความชอบดังกล่าวทำให้ได้รับพระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อตั้งบ้านเรือน สร้างโบสถ์เผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ร่องรอยสิ่งก่อสร้างที่ยังหลงเหลือคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือโบสถ์ในคณะโดมินิกันซึ่งเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทย ตั้งอยู่ในบริเว
พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อันงดงามปรากฏชัดในสายตาเมื่อก้าวเข้าสู่พระอุโบสถขนาดเก้าห้องของวัดหน้าพระเมรุ พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ” เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากในสมัยนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ หรือทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ การสร้างวัดหน้าพระเมรุมีกล่าวในตำนานว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2047 ประทานนามว่า “วัดพระเมรุราชิการราม” แต่นิยมเรียกกันต่อมาว่า “วัดหน้า
วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดอง
วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวอยุธยานั้นผูกพันกับสายน้ำและท้องทุ่งกว้าง มักตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ทั้งบ้านเรือนไทยใต้ถุนสูงหรือเรือนแพ โดยหันหน้าเรือนออกริมน้ำซึ่งใช้เป็นทางสัญจร ด้านหลังบ้านเป็นท้องทุ่งนา ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จากดินตะกอนที่ไหลมาทับถมในฤดูน้ำหลาก เป็นปุ๋ยชั้นดีสำหรับการปลูกข้าว ชาวบ้านจึงยังชีพด้วยการทำนาเป็นหลัก บ้างออกเรือจับปลาในแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่คลาคล่ำ และใช้เวลาว่างทำงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ วิถีชีวิตคนอยุธยาเริ่มเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การตัด
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ถือว่าเป็นยุคทองของศิลปกรรมไทย ศิลปสกุลช่างอยุธยามีความงดงามโดดเด่น ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม หรือประติมากรรม ทั้งงานระดับช่างฝีมือในราชสำนัก และงานศิลปหัตกรรมพื้นบ้าน เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ผู้คนต่างหลบลี้หนีภัยไปรอบทิศ กระทั่งหลังสงคราม ผู้คนจึงทยอยกลับมาตั้งถิ่นฐานกันใหม่ และค่อยเริ่มรื้อฟื้นงานหัตถศิลป์ขึ้นมาอีกครั้ง อยุธยาได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย งานหัตกรรมต่างๆ ของอยุธยาก็ได้รับความนิยมท