You are here

 
History
Eco-Tourism
Geology
ห้องปฏิบัติการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัยไดโนเสาร์ สำหรับพิพิธภัณฑ์สิรินธร ห้องปฏิบัติการกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางที่ผู้เข้าชมเดินผ่าน และผนังทั้งบานเป็นกระจกใส จึงสามารถมองเห็นการทำงานของบรรดานักวิทยาศาสตร์ได้อย่างชัดเจน เราจะได้เห็นฟอสซิลกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์นานาชนิดที่ขุดพบในประเทศไทย วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะแต่ละตัวจนดูละลานตา เช่น กระดูกสะโพกและกระดูกต้นขาชิ้นมหึมาของ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หรือกระดูกโคนหางของ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส เมื่อฟ
ช่วงต้นของเส้นทางเดินชมนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์สิรินธร เราจะเห็นลายเส้นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ฝังอยู่บนพื้น มันคือมาตราธรณีกาล (Geological Time Scale) ที่ใช้ลำดับอายุทางธรณีวิทยา นับแต่โลกกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น บรมยุค มหายุค ยุค และสมัย ตามลำดับ ดังนั้นในตารางสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ จึงมีลายเส้นตัดกันเป็นช่องย่อยๆ แบ่งตามช่วงเวลาดังกล่าว ในแต่ละช่องยังมีสัญลักษณ์รูปพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งกำเนิดขึ้นในเวลานั้นอีกด้วย เมื่อเราก้าวย่างผ่านมาตราธรณีก
สำหรับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แล้ว สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดน่าจะได้แก่โครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดมหึมาที่ยืนตระหง่านอยู่ต่อหน้าเขานั่นเอง พิพิธภัณฑ์สิรินธรจัดแสดงโครงกระดูกไดโนเสาร์ประมาณ 20 ชนิด ส่วนใหญ่สั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ที่โดดเด่นกว่าเพื่อนเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และยังเป็นฟอสซิลที่ขุดพบในเมืองไทย ก็คือโครงกระดูกของภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ตามปรกติโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ล้วนเป็นแบบจำลอง โดยเก็บฟอสซิลของจริงไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัย และใช้สำหรับงานวิจัย การทำ
ปลายปี พ.ศ.2539 เด็กหญิง 2 คน คือ ด.ญ.กัลยามาศ สิงห์นาคลอง อายุ 10 ปี และ ด.ญ.พัชรี ไวแสน อายุ 11 ปี ได้ค้นพบรอยตีนไดโนเสาร์ขนาดใหญ่บริเวณผลาญหินที่รู้จักกันในนามวังเครือจาน เชิงภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อคณะสำรวจไดโนเสาร์ กรมทรัพยากรธรณี เข้ามาตรวจสอบพบว่ามีรอยตีนไดโนเสาร์อยู่ 21 รอย ย่ำเป็นแนวทางเดิน 6 แนวในทิศทางต่างกัน โดยมี 3 แนวที่เห็นรอยตีนชัดเจน ได้แก่ แนวทางเดินแรก พบรอยตีน 7 ก้าว เดินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (120 องศา) รอยตีนมีนิ้ว 3 นิ้ว ความยาวประมาณ 45