ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ถือว่าเป็นยุคทองของศิลปกรรมไทย ศิลปสกุลช่างอยุธยามีความงดงามโดดเด่น ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม หรือประติมากรรม ทั้งงานระดับช่างฝีมือในราชสำนัก และงานศิลปหัตกรรมพื้นบ้าน
เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ผู้คนต่างหลบลี้หนีภัยไปรอบทิศ กระทั่งหลังสงคราม ผู้คนจึงทยอยกลับมาตั้งถิ่นฐานกันใหม่ และค่อยเริ่มรื้อฟื้นงานหัตถศิลป์ขึ้นมาอีกครั้ง
อยุธยาได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของไทย งานหัตกรรมต่างๆ ของอยุธยาก็ได้รับความนิยมท
|
จากลักษณะของภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและอาหารการกินของผู้คนแต่ละท้องถิ่น เช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำล้อมรอบ คนอยุธยาจึงหากินกับท้องทุ่งนา ผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง สำรับอาหารท้องถิ่นส่วนใหญ่จึงเป็นปลาและผักที่หาได้จากธรรมชาติ
เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ว่า แม่น้ำลำคลองในอยุธยานั้นมีปลาชุกชุม คนอยุธยากินข้าวและปลาเป็นหลัก ทั้งต้ม แกง รวมทั้งปลาแห้งและปลาเค็ม จิ้มน
|