You are here

 
History
Eco-Tourism
Geology
มัสยิดเจ้าพระคุณตะเกี่ย หรือ มัสยิดตะเกี่ยโยคิณราชมิสจินจาสยาม เป็นมัสยิดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณด้านข้างเป็นสุสานซึ่งเป็นอาคารแปดเหลี่ยมทรงโดมสร้างครอบ กล่าวกันว่าเป็นที่ฝังศพของเจ้าพระคุณตะเกี่ยโยคินฯ ผู้เป็นที่เคารพสักการะของชาวมุสลิมในย่านนี้ ภายในมัสยิดมีสิ่งที่แสดงถึงสำคัญของที่นี่ได้ดี คือ แท่นบรรยายธรรมและตะเกียง ซึ่งได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 มัสยิดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจของชาวบ้านในชุมชนคลองตะเคียน ย่านปากคลองตะเคียนด้านใต้ กลุ่มคนที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมสืบเช
เป็นพระราชพิธีสำคัญจะกระทำได้โดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เท่านั้น โดยมีกรมคชบาลและพราหมณ์พฤฒิบาศเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ เริ่มจากการต้อนโขลงช้างป่ามาพักไว้ที่ปีกกา แล้วจึงต้อนเข้าเพนียดครั้งละ 40-50 ตัว เพื่อคัดเลือกช้างที่ต้องลักษณะ ส่วนที่เหลือก็จะปล่อยเข้าป่าไป จากนั้น “หมอช้าง” ซึ่งทำหน้าที่คล้องช้างจะนั่งบนหลังช้างที่ฝึกมาดีแล้ว ถือไม้คันจามยาวประมาณ 5 เมตร ตรงปลายมี “บ่วงบาศ” ขนาดกว้างกว่าเท้าช้างเล็กน้อย คล้องไปที่ขาหลังของช้างป่าที่ต้องการ ซึ่งการคล้องช้างต้องใช้ทั้งสมาธิ ประส
ปลาตะเพียนสานเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ปลาโตเต็มที่เป็นช่วงเดียวกับข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวนปลาตะเพียนสานไว้เหนือเปลเด็กเพื่ออวยพรให้เด็กสุขภาพแข็งแรง ปลาตะเพียนสานเป็นสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของอยุธยา เป็นงานฝีมือที่ชาวมุสลิมแถบชุมชนบ้านหัวแหลมสืบทอดมากว่าร้อยปีแล้ว
พระสังฆราชลังแบร์ต เอดลาม็อต หัวหน้าคณะธรรมทูตแห่งปารีส หนึ่งในเจ็ดประมุขมิสซังที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้มาเผยแพร่ศาสนาในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2205 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเดินทางไปเผยแพร่ธรรมะในประเทศจีน แต่เรือถูกพายุอัปปาง และในเวลานั้นเกิดการเบียดเบียนทางศาสนาอย่างรุนแรงในประเทศจีน ท่านจึงได้มาพักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในค่ายของชาวญวณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2209 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระสังฆราชลังแบร์ต เอดลาม็อต กับบาทหลวงชาวฝรั่งเศสอีกสองรูปได้ทู
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังร่วมมือกับมูลนิธิพระคชบาล ในการอนุรักษ์สายพันธุ์ช้างไทยให้ยั่งยืน จัดระบบระเบียบการเลี้ยงช้างที่ได้มาตรฐาน และเริ่มโครงการสืบสานสายพันธุ์ช้าง หรืองานวิวาห์ช้าง เป็นครั้งแรกในโลก และประสบความสำเร็จด้วยดี โดยปัจจุบันมีลูกช้างที่เกิดในเพนียดหลวงเป็นจำนวนมาก ภายในวังช้างอยุธยาแลเพนียดมีทั้งช้างใหญ่และช้างเล็กออกมาทำงาน โดยช้างเล็กอายุราว 3-10 จะมาออกมาทำงานวันละ 3-4 เชือก นอกจากที่วังช้างฯ แล้ว ที
กล่าวกันว่าผู้ที่ทำโรตีสายไหมขายสมัยแรกๆ คือ บังเปีย แสงอรุณ จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เมื่อปี พ.ศ. 2506 ด้วยการปั่นจักรยานเร่ขายจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว ต่อมาจึงชวนพี่น้องอีกหกคนให้มาทำโรตีสายไหมขาย ทำให้ตระกูลแสงอรุณขยายกิจการกระจายไปทั่วถนนอู่ทอง และตามเส้นทางสายเอเชีย รวมทั้งถ่ายทอดวิชาให้ลูกศิษย์แยกตัวไปประกอบอาชีพนี้มากมายจนกลายเป็นที่มาของโรตีสายไหมในอยุธยาที่มีมากมายหลายเจ้านั่นเอง